top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนพีเทค เอ็นเตอร์ไพรส์

GPS ย่อมาจากอะไร GPS คืออะไร และ GPS ใช้ทำอะไร

อัปเดตเมื่อ 24 มี.ค. 2564

เห็นคำว่า GPS มานานแสนนาน แต่ไม่แน่ใจว่าจริงๆแล้วมันคืออะไรกันแน่ วันนี้ P. Tech เราสรุป เนื้อหาความเป็นมาของ gps มาให้ทุกท่านได้อ่านกันสั้นๆ เข้าใจง่ายๆกันครับ




ความเป็นมาของ GPS

แต่เดิมแล้ว gps นี้ถูกสร้างเพื่อใช้ในทางการทหารเมื่อปี 1973 ในสหรัฐอเมริกา และเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้ใช้ในปี 1980 จากการพัฒนาเทคโนโลยีและความต้องการใหม่ๆที่เพิ่มขึ้นจากระบบที่มีอยู่ทำให้เกิดความพยายามที่จะพัฒนาระบบใหม่ๆของ GPS รวมเข้ากับดาวเทียมดวงใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ


GPS ย่อมาจากอะไร

GPS ย่อมาจาก Global Positioning System หรือแปลเป็นไทยตรงๆก็คือ ระบบการระบุตำแหน่งของโลก


GPS มี่กี่ประเภท แบ่งอย่างไร

จีพีเอสระบบนำทาง จะถูกใช้งานในรถยนต์ทั่วไป ซึ่งรูปแบบของมันนั้นจะเป็นการบอกแผนที่การเดินทางด้วยการป้อนข้อมูลของเป้าหมายลงไปในเครื่องนำทาง GPS แล้วระบบจะคำนวนเส้นทางหรือระยะห่างโดยรวมที่เราจะเดินทางให้ เพื่อเป็นการวางแผนการเดินทางได้

สามารถใช้งานได้ง่าย สะดวก เเละในปัจจุบันยังมีแอพพลิเคชั่น หรืออุปกรณ์ที่รองรับการใช้งาน GPS ในรูปเเบบนี้จำนวนมาก และเป็นประโยชน์อย่างมากหากใช้ในการเดินทาง หากต้องเดินทางในที่ที่ไม่รู้จัก หรือไม่เคยไปมาก่อน ก็มาสามารถนำทางไปยังจุดหมายที่เราตั้งเอาไว้ได้


จีพีเอสติดตาม การใช้งานจะถูกนำไปใช้ในการติดตามยานพาหนะ รถยนต์ หรือแม้กระทั่งสัตว์เลี้ยง โดยมากใช้เพื่อป้องกันการสูญหาย โดยเราสามารถแบ่งจีพีเอสติดตามได้ออกเป็น 2 แบบด้วยกัน คือ

อุปกรณ์จีพีเอสติดตามแบบออฟไลน์ตรวจสอบประวัติได้อย่างเดียว ไม่สามารถตรวจสอบตามเวลาจริงได้

อุปกรณ์จีพีเอสติดตามแบบ ออนไลน์หรือกึ่งออฟไลน์ ซึ่งจะทำงานร่วมกับอุปกรณ์เช่นมือถือ หรือคอมพิวเตอร์ ที่เราสามารถติดตามความเคลื่อนไหวแบบปัจจุบันได้ และยังสามารถดูประวัติการเดินทางย้อนหลังได้ทันทีอีกด้วย


GPS ในชีวิตประจำวัน

ระบบ GPS พัฒนาให้เข้าถึงได้ง่ายมากขึ้นเนื่องจากจำนวนการใช้งานที่มากขึ้น ต่างจากในสมัยก่อนที่

ใช้กันในวงการทหารอย่างเดียวเท่านั้น ตอนนี้กลับกลายเป็นทุกเครื่องมี GPS อยู่ในมือกันหมดแล้ว

เราสามารถใช้ gps ในการติดตามสินค้าของเรา สัตว์เลี้ยงคนที่เรารัก ได้แบบ เวลาจริง

สำหรับธุรกิจ การผสมผสาน เทคโนโลยี gps เข้ากับธุรกิจของ ท่าน ทำให้ การเดินทาง ความปลอดภัย สะดวกสบายและปลอดภัยมากขึ้น




ดู 289 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page